วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2559

อาชีพในฝัน



ในฐานะผู้ประกอบการ หรือผู้ที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับการทำธุรกิจและการตลาด ท่านอาจจะเคยพบจุดหรือจังหวะที่ต้องถามตัวเองว่า กิจกรรมที่จะทำนี้ เป็นหน้าที่ของฝ่ายการตลาด (Marketing) หรือฝ่ายขาย (Sales)

การแบ่งหน้าที่และเป้าหมายผลงานระหว่างฝ่ายการตลาดและฝ่ายขายนั้นเป็นปัญหาสำหรับบริษัทหลายที่ โดยเฉพาะบริษัทที่เน้นการขายสินค้าแบบ B2B เนื่องจากเน้นการขายสรรพคุณโดยให้พนักงานขายวิ่งตรงเข้าหาลูกค้า หรือบางบริษัทที่เลือกให้นักขาย นักโฆษณา หรือนักประชาสัมพันธ์ขึ้นมาดูแลการตลาดโดยที่เขาเลือกใช้ประสบการณ์และทักษะการทำงานเดิมๆมากกว่าการมองจากมิติของการตลาดที่แท้จริง ซึ่งจะทำให้เกิดการขาดทิศทาง และผลลัพธ์ที่ควรจะเป็นในเชิงการตลาด เช่น การรับรู้สินค้า การสร้างแบรนด์ หรือความสอดคล้องของการสื่อสารสินค้า เป็นต้น

จริงๆแล้วมีหลายกิจกรรมที่บริษัทต่างๆมักจะสับสนเกี่ยวกับการตลาด เช่น ส่วนใหญ่จะไม่เข้าใจว่ อ่านต่อ

โรคที่เกิดจากพันธุกรรมคืออะไร?

คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของยีน(gene)หรือของโครโมโซม (chromosome) ตั้งแต่แรกเกิดหรือตั้งแต่ปฏิสนธิ หรืออาจเกิดการผิดปกติได้ในภายหลัง ทำให้มีผลเกิดภาวะผิดปกติทางร่างกาย หรือ เกิดภาวะเจ็บป่วยได้ ซึ่งโรคทางพันธุกรรม(genetic disorder)อาจสามารถหรือไม่สามารถถ่ายทอดสู่รุ่นลูกรุ่นหลานได้แล้วแต่กรณี โรคทางพันธุกรรม(genetic disorder)อาจ มีสาเหตุมาจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมของพ่อและแม่ หากยีน(gene)หรือของโครโม อ่านต่อ

อาการดาวน์ซินโดรม

กลุ่มอาการดาวน์ หรือโรคดาวน์ หรือ Down’s syndrome หรือ Down syndrome เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของสารพันธุกรรมที่เป็นมาแต่กำเนิด เด็กมักเกิดจากพ่อและแม่ที่ปกติ เด็กจะมีสารพันธุกรรมของโครโมโซมแท่งที่ 21 เกินมาอาการแสดงหลักคือ ปัญญาอ่อน มีโรคหัวใจพิการ และอายุสั้น ทั้งนี้ ชื่อของโรคตั้งตามชื่อของแพทย์ชาวอังกฤษชื่อ John Lang don Down ซึ่งเป็นคนแรกที่ได้อธิบายอาการของโรคไว้เมื่อปี คศ. 1866 แต่แพทย์ที่ค้นพบสา เหตุว่าเกิดจากความผิดปกติของสารพันธุกรรม ชื่อ Jerome Lejeune ในปี คศ. 1959 ปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีป้องกันไม่ให้เป็น Down’s syndrome ได้

กลุ่มอาการดาวน์นี้ส อ่านต่อ

โรค Albinism หรือคนผิวเผือก

โรคอัลบินิซึม หรือโรคผิวเผือก เกิดจากยีนด้อย ที่มีอยู่ในพันธุกรรม ทำให้ไม่สามารถ สร้างเอนไซม์ เมลาโนโซท์ ไทโรซิเนส melamocyte tyrosinase ที่จะเปลี่ยนไทโรซีน ซึ่งเป็นโปรตีน สำคัญตัวหนึ่ง ไปเป็นเมลานิน melanin ซึ่งทำให้ผู้ที่เป็นโรคนี้ แสดงลักษณะ เผือกคือ มีสีผิวขาว ผมขาว ตาสีขาว ม่านตาสีเทาและโปร่งแสง รูม่านตา สะท้อนแสงออกมาเป็นสีแดง ร่างกายอ่อนแอติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนทั่วไป การทดสอบทางพันธุกรรมภาวะผิวเผือก เกิดกับคนทุกเชื้อชาติ มีอัตราการเกิดประมาณ 1:17,000 คน เกิดในพื้นที่ที่มีคนดำอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เพราะเกิดจากการผสมกันระหว่างยีนด้อยกับยีนด้อย

สาเหตุของการเกิดโรค
เกิดจากคว อ่านต่อ


ตาบอดสี

ตาบอดสี หรือที่เรียกว่า colour blindness เป็นอาการที่ตาของผู้ป่วยแปรผลแปรภาพสีผิดไป จากผู้อื่นที่เป็นตาปกติ ตาเป็นอวัยวะจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตอย่างปกติสุขในสังคม หากเกิดความ ผิดปกติไม่ว่า จะเป็นเรื่องใดที่มีผลกระทบต่อการมองเห็น บุคคลนั้นๆ ย่อมได้รับผลกระทบไม่ทางใด ก็ทางหนึ่ง ภาวะตาบอดสีเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในสังคมมากพอสมควร

ปกติแล้วตาคนเราจะมีเซลรับแสงอยู่ 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นเซลรับแสงที่รับรู้ถึงความมืด หรือ สว่าง ไม่สามารถแยกสีออกได้และจะมีความไวต่อการกระตุ้นแม้ในที่ที่มีแสงเพียงเล็กน้อย เช่น เวลากลางคืน เซลกลุ่มที่สองเป็นเซลล์ทำหน้าที่มองเห็นสีต่าง ๆ โดยจะแยกได้เป็นเซล อีก 3 ชนิด ตามระดับคลื่นแสง หรือสี ที่กระตุ้น คือ เซลล์รับแสงสีแดง เซลล์รับแสงสีน้ำเงิน และเซลรับแสงสีเขียวสำหรับแสงสีอื่น จะกระตุ้นเซลดังกล่าวมากกว่าหนึ่งชนิ อ่านต่อ

ฮีโมฟิเลีย (Hemophilia)

ฮีโมฟิเลีย (Hemophilia) เป็นโรคเลือดออกผิดปกติที่พบได้ไม่ถึงกับบ่อยนักแต่ก็พบได้เรื่อยๆ เป็นโรคที่ก่อปัญหาสำคัญทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ สังคม ต่อผู้ป่วยและครอบครัวตลอดชีวิตของผู้ป่วย และเป็นปัญหาในเรื่องงบประมาณของประเทศ เพราะการป้องกันเลือดออกและการรักษาใช้งบประมาณมหาศาล

พบอุบัติการณ์โรคฮีโมฟิเลีย ประมาณ 1:5,000 ในผู้ชาย โดยประมาณ 85% เป็นฮีโมฟิเลีย เอ (Hemophilis A, ผู้ป่วยขาดปัจจัยการแข็งตัวของเลือดชนิดที่เรียกว่า Factor VIII) และประมาณ 10-15% เป็นฮีโมฟิเลียบี (Hemophilia B,ผู้ป่วยขาดปัจจัยการแข็งตัวของเลือดชนิดที่เรียกว่า Factor IX)

ในประเทศไทย พบฮีโมฟิเลียประมาณ 1 รายต่อประชากร 20,000 คน

ในสห อ่านต่อ

วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2559

โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรัง และก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ ก่อให้เกิดปัญหากับ ฟันและเหงือก ตา ไต หัวใจ หลอดเลือดแดง ท่านผู้อ่านสามารถป้องกันโรคแทรกซ้อนต่างๆได้ โดยการปรับ อาหาร การออกกำลังกาย และยาให้เหมาะสม ท่านผู้อ่านสามารถนำข้อเสนอแนะจากบทความนี้ไปปรึกษากับแพทย์ที่รักษาท่านอยู่ ท่านต้องร่วมมือกับคณะแพทย์ที่ทำการรักษาเพื่อกำหนดเป้าหมายการรักษา บทความนี้เชื่อว่าจะช่วยท่านควบคุมเบาหวานได้ดีขึ้น
โรคเบาหวานคืออะไร

อาหารที่รับประทานเข้าไปส่วนใหญ่จะเปลี่ยนจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดเพื่อใช้เป็นพลังงาน เซลล์ในตับอ่อนชื่อเบต้าเซลล์เป็นตัวสร้างอินซูลิน อินซูลินเป็นตัวนำน้ำตาลกลูโคสเข้าเซลล์เพื่อใช้เป็นพลังงาน โรคเบาหวานเป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เกิดเนื่องจากการขาดฮอร์โ อ่านต่อ

โรคดักแด้ (Epidermolysis Bullosa)

โรคดักแด้ หรือ Epidermolysis Bullosa (EB) อยู่ในกลุ่มโรคประเภทโรคผิวหนัง ซึ่งเกิดจากความผิดปกติที่ไม่ค่อยพบนัก มีสาเหตุจากการกลายพันธุ์จากยีนเคราติน มีอาการผิวแห้ง บอบบางอย่างรุนแรงและมีแผลพุพอง โรคนี้ถูกเปิดเผยสู่สาธารณะในสหราชอาณาจักรทางช่อง 4 รายการ The Boy Whose Skin Fell Off, chronicling the life and death of English sufferer Jonny Kennedy.

ลองจินตนาการถึงผู้ที่เจ็บปวดจากบาดแผลคล้ายแผลไฟไหม้ไปทั่วร่าง โดยที่บาดแผลเหล่านี้จะไม่หายไป สำหรับเด็ก การขี่จักรยาน เล่นเสก็ต หรือเล่นกีฬาอื่นๆเป็นสิ่งยากลำบากเพราะกิจกรรมปกติจะทำให้เกิดความเจ็บปวดเรื้อรัง แผลอาจปกคลุมถึง75%ของร่างกาย แผลในปากและหลอดอาหารทำให้ผู้ป่วยกิอ่านต่อ

โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia)

คือ โรคเลือด หรือ โรคโลหิตจางเรื้อรังชนิดหนึ่ง เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่ผิดปกติสู่ลูก จากพ่อและ/หรือ แม่ โรคนี้พบได้ทั่วโลก แต่พบได้สูงในบ้านเรา และคนในถิ่นทะเลเมดิเตอเรเนียน ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า ธาลัสซีเมีย ซึ่งเป็นภาษากรีกโบราณ โดย Thalassa แปลว่า ทะเล และ Haema แปลว่า เลือด
พันธุกรรม หรือ จีน (Gene หรือบางคนเรียกว่า ยีน) ที่ผิดปกตินี้ คือ จีนที่เกี่ยวกับการสร้างเม็ดเลือดแดง โดยทำให้มีการสร้างเม็ดเลือดแดงได้น้อยกว่าปกติ เม็ดเลือดแดงมีรูปลักษณะผิดปกติ เม็ดเลือดแดงมีอายุสั้นกว่าปกติ และ เม็ดเลือดแดงแตกง่ายกว่าปกติ ทั้งหมดจึงส่งผลให้เกิดอาการ หรือ ภาวะซีด หรือ โลหิตจางเรื้อรัง จากมีความผิดปกติต่างๆของเม็ดเลือดแดงดังกล่าวแล้ว
ในบ้านเรา พบผู้มีจีนชนิดนี้ ที่เ อ่านต่อ

โรคพิษจากสารกำจัดศัตรูพืช

สารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้าง : วิกฤตในระบบอาหารไทย การบริโภคผักและผลผลิตที่มีสารเคมีตกค้าง ดังรายงานการตรวจเลือดในเกษตรกรและผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่าเกษตรกรและแม่บ้านมีสารเคมีตกค้างในระดับไม่ปลอดภัยและเสี่ยงรวมร้อยละ ๗๕ ส่วนในกลุ่มผู้บริโภคที่รวมถึงนักเรียน บุคลากรในมหาวิทยาลัย ข้าราชการ นั้นมีสูงถึงร้อยละ ๘๙.๒๒ ซึ่งสาเหตุหลักของความแตกต่างนี้อาจเป็นเพราะว่าเกษตรกรมีตัวเลือกในการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยมากกว่าผู้บริโภคทั่วไป

ผลกระทบด้านสุขภาพจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ผลกระทบที่เป็นพิ อ่านต่อ

โรคหอบหืดจากการประกอบอาชีพ (Occupational asthma)

โรคหอบหืด เกิดจากการทำงานสัมผัสกับสารก่อโรคในที่ทำงาน ซึ่งอาจเป็นการสัมผัสสารกลุ่มน้ำหนักโมเลกุลต่ำ เช่น สารยึดติด สารเคลือบต่าง ๆ สารเคมีที่ใช้ในกระบวนการผลิตโพลิเมอร์ ผลิตอีพอกซีย์ และไอที่เกิดจาก การชุบเชื่อมโลหะต่าง ๆ การสัมผัสสารก่อโรค  ชนิดน้ำหนักโมเลกุลสูง  เป็นสารที่เกิดจากผลผลิตทางชีวภาพ ได้แก่ เชื้อรา แบคทีเรีย แมลง พืช ต่าง ๆ เช่น เครื่องเทศ กาแฟ ละหุ่ง  ถั่วเหลือง เกสรดอกไม้ แป้ง เป็นต้น

ลักษณะงานและอาชีพที่เสี่ยง ได้แก่ผู้ที่ทำงานสัมผัสกับสารก่ อ่านต่อ

โรคปอดฝุ่นฝ้าย หรือโรคบิสสิโนสิส

โรคปอดฝุ่นฝ้าย หรือ บิสสิโนสิส (Byssinosis) เป็นโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรังที่เกิดจากการสูดหายใจเอาใยของฝ้าย ป่าน ปอ ลินิน และฝุ่นผงของพืชเข้าไปในปอด ทำให้มีอาการต่าง ๆ ทางระบบทางเดินหายใจ ถือเป็นหนึ่งในโรคปอดจากการประกอบอาชีพ (Pneumoconiosis)
อาการของโรคปอดฝุ่นฝ้าย ร้ายแรงหรือไม่?

ผู้ที่สูดเอาใยสิ่งทอเข้าสู่ร่างกายจนสะสมนาน ๆ ส่วนใหญ่คือเกิน 2 ปีขึ้นไป จะมีอาการไอ แน่นหน้าอก หายใจเหนื่อยหอบ มักเกิดในชั่วโมงต้น ๆ ของการทำงาน โดยเฉพาะในตอนเช้าวันแรกของการทำงานหลังจา อ่านต่อ

โรคฝุ่นหิน หรือโรคซิลิโคสิส

โรคปอดจากฝุ่นหิน  หรือซิลิโคสิส เป็นโรคปอดจากการทำงานที่มีสาเหตุจากการสูดหายใจเอาฝุ่นซิลิกอนไดออกไซด์หรือเรียกว่าผลึกซิลิก้าซึ่งส่วนมากจะพบในหินทรายเข้าไป
ลักษณะงานและอาชีพที่เสี่ยง
อาชีพที่เสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคคือ ผู้ที่ทำงานในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ งานที่เกี่ยวข้องกับการตัดหิน สกัดหิน  โรงงานโม่บดย่อยหิน  อุตสาหกรรมทำแก้ว เซรามิก  ครก อุตสาหกรรมทำอิฐ กระเบื้องทนไฟ  วัตถุทนความร้อน เครื่องสุขภัณฑ์ เป็นต้น
อันตรายต่อระบบอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย
ผลึกที่เป็นสาเหตุของโรคซิลิโคสิสมี 3 ชนิดคือ ควอทซ์ (Quarts) คริสโตแบไลท์ ( Cristobalite ) และทริไดไมท์ (Tridimite) ขนาดของฝุ่นซิลิคอนไดออกไซด์ ก็เป็นปัจจัยสำคัญของการเกิดโรคซิ อ่านต่อ